เมนู

อำนาจของมาร เป็นผู้เพลิดเพลินอยู่ในภพน้อย ภพใหญ่
และชื่อว่าเป็นสาวกของท่าน.

จบตาลปุฏเถรคาถา

พระตาลปุฏเถระองค์เดียวเท่านั้น ได้ภาษิตคาถาไว้
ในปัญญาสนิบาตนี้ รวมเป็นคาถา 55 คาถา ฉะนี้แล.

ปัญญาสนิบาตจบบริบูรณ์

อรรถกถาตาลปุฏเถราคาถาที่ 1


อรรถกถาตาลปุฏเถรคาถาที่ 1


ในปัญญาสนิบาต คาถาของท่านพระตาลปุฏเถระ มีคำเริ่มต้นว่า
กทา นุหํ ปพฺพตกนฺทราสุ ดังนี้ เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาทกาล
นี้บังเกิดในตระกูลแห่งนักฟ้อนแห่งหนึ่งในกรุงราชคฤห์ ถึงความเป็นผู้รู้
เดียงสา ถึงความสำเร็จในฐานะเป็นนักฟ้อนอันสมควรแก่ตระกูล ได้
ปรากฏเป็นนักฟ้อนชื่อว่า นฏคามณิ ในชมพูทวีปทั้งสิ้น.
เขามีมาตุคาม 500 เป็นบริวาร แสดงมหรสพในบ้าน นิคมและ
ราชธานี ด้วยสมบัติแห่งการฟ้อนเป็นอันมาก ได้การบูชาและสักการะเป็น
อันมากเที่ยวไป มายังกรุงราชคฤห์แสดงแก่ชาวพระนคร ได้ความนับถือ

และสักการะ เพราะความที่ตนถึงความแก่กล้าแห่งญาณ จึงไปเฝ้าพระ-
ศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้กะพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับฟังคำของ
พวกนักฟ้อนผู้เป็นอาจารย์ และอาจารย์ผู้เป็นประธานผู้เป็นหัวหน้ากล่าว
อยู่ว่า นักฟ้อนนั้นใด ทำให้ชนร่าเริงยินดี ด้วยการกล่าวคำจริงและ
เหลาะแหละในท่ามกลางมหรสพ ในท่ามกลางเวทีโรงละคร นักฟ้อนนั้น
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทพ
ทั้งหลายผู้ร่าเริง ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างไร ?
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสห้ามเขาถึง 3 ครั้งว่า อย่า
ถามข้อนั้นกะเราเลย ถูกเขาถามครั้งที่ 4 พระองค์ถึงตรัสว่า คามณิ
สัตว์เหล่านี้ แม้ตามปกติก็ถูกเครื่องผูกคือราคะผูกพันแล้ว ถูกเครื่องผูก
คือโทสะ และโมหะผูกพันแล้ว, ท่านนำเข้าไปเปรียบเทียบให้เกิดความ
เลื่อมใส ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ความขัดเคือง และอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความหลง แม้โดยยิ่งแห่งสัตว์เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ตาย
เพราะกายแตก ย่อมเกิดในนรก. แต่ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักฟ้อน
นั้นใดย่อมยังชนให้ร่าเริงให้ยินดี ด้วยคำจริงและด้วยคำเหลาะแหละ ใน
ท่ามกลางมหรสพในท่ามกลางเวทีโรงละคร เขาเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย
แตก ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทพทั้งหลายผู้ร่าเริง เพราะเหตุนั้น
เขาจึงมีความเห็นผิดเช่นนั้น, ก็ผู้มีความเห็นผิดพึงปรารถนาคติอย่างใด
อย่างหนึ่ง บรรดาคติทั้งสอง คือนรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน. นายตาล-
ปุฏคามณิได้ฟังดังนั้นแล้วก็ร้องไห้ จะป่วยกล่าวไปไยที่เราจะห้ามนาย
คามณิมิใช่หรือว่า อย่าได้ถามข้อนั้นกะเราเลย. นายคามณิกราบทูลว่า

ข้าแต่พระผู้องค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้ถึงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสอภิสัมปรายภพของนักฟ้อนทั้งหลาย กะข้าพระองค์อย่างนี้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์ถูกนักฟ้อนทั้งหลายผู้เป็น
อาจารย์และอาจารย์ผู้เป็นประธานในก่อนหลอกลวงว่า นักฟ้อนแสดง
มหรสพของนักฟ้อนแก่มหาชนแล้วเข้าถึงสุคติ. เขาฟังธรรมในสำนัก
พระศาสดา ได้ศรัทธาได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว กระทำกรรมด้วย
วิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต. ก็ท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ก่อน
แต่บรรลุพระอรหัต โดยอาการอันเป็นเหตุให้เกิดการกระทำไว้ในใจโดย
อุบายอันแยบคาย ด้วยสามารถการข่มจิตของตน เพื่อจะแสดงจำแนก
อาการนั้น โดยอาการเป็นอันมาก จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า :-
เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้อยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีตัณหา
เป็นเพื่อนสอง ณ ภูเขาและซอกเขา เมื่อไรหนอ เราจึง
จักพิจารณาเห็นแจ้งภพทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้เป็นนักปราชญ์ นุ่งห่มผ้า-
กาสาวพัสตร์อันเศร้าหมอง ไม่มีความยึดมั่น ไม่มีความ
หวัง เป็นผู้ฆ่าราคะ โทสะ และโมหะ ได้แล้ว เที่ยว
ไปตามป่าใหญ่อย่างสบาย ความตรึกเช่นนี้ของเราจัก
สำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจะเห็นแจ้งซึ่งร่างกายนี้ อันเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นรังแห่งโรค คือความตาย ถูกความตาย

และความเสื่อมโทรมบีบคั้นแล้ว เป็นผู้ปราศจากภัย
อาศัยอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ความตรึกเช่นนี้ของเราจัก
สำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจักได้ถือเอาซึ่งดาบอันคมกริบ คือ
อริยมรรคอันสำเร็จด้วยปัญญา แล้วตัดเสียซึ่งลดาชาติ
คือตัณหาอันก่อให้เกิดภัย นำมาซึ่งทุกข์ เป็นเหตุให้คิด
วนเวียนไปในอารมณ์ภายนอก ความตรึกเช่นนี้ของเรา
จักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้ถือเอาซึ่งศาสตราอันสำเร็จ
ด้วยปัญญา มีเดชานุภาพมากของฤาษี คือพระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยสาวก แล้วหักรานเสีย
ซึ่งกิเลสมารพร้อมทั้งเสนาโดยเร็วพลัน เหนือเถรอาสน์
มีลีลาศดังราชสีห์ ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไร
หนอ.

เมื่อไรหนอ นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้มี
ความหนักแน่นในธรรม ผู้คงที่ มีปกติเห็นตามความเป็น
จริง มีอินทรีย์อันชนะแล้ว จักเห็นว่าเราบำเพ็ญเพียร
ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ ความเกียจคร้าน ความหิวระหาย ลม
แดด เหลือบ ยุง และสัตว์เสือกคลานทั้งหลายจึงจักไม่
เบียดเบียนเรา คามซอกเขา ข้อนั้นเป็นความประสงค์

ของเรา ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.
เมื่อไรหนอ เราจึงจักเป็นผู้มีจิตมั่นคง มีสติ ได้
บรรลุอริยสัจ 4 ที่เห็นได้แสนยาก อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงทราบแล้วด้วยปัญญา
ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักประกอบด้วยความสงบระงับ
จากเครื่องเร่าร้อนใจในเพราะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏ-
ฐัพพะ และธรรมารมณ์ที่เรายังไม่รู้เท่าถึง พิจารณาเห็น
ด้วยปัญญา ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เมื่อเราถูกว่ากล่าวติเตียนด้วยถ้อยคำชั่ว
หยาบแล้ว จักไม่เดือดร้อนใจเพราะถ้อยคำชั่วหยาบนั้น
อนึ่ง ถึงเขาจะสรรเสริญก็จะไม่ยินดีเพราะถ้อยคำเช่นนั้น
ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักพิจารณาเห็นสภาพภายใน
กล่าวคือเบญจขันธ์ และรูปธรรมเหล่าอื่นที่ไม่รู้ทั่วถึง และ
สภาพภายนอก คือต้นไม้ หญ้า และลดาชาติ ว่าเป็น
สภาพเสมอกัน ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไร
หนอ.

เมื่อไรหนอ ฝนที่ตกในเวลาปัจจุสมัย จักตกรดเรา
ผู้นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ผู้ปฏิบัติอยู่ในมรรคปฏิปทา ที่
นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นดำเนินไปแล้ว ด้วยน้ำ

ใหม่อยู่ในป่า ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไร
หนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้ฟังเสียงร่ำร้องแห่งนกยูง
และทิชาชาติในป่าและซอกเขา ลุกขึ้นจากการนอนแล้ว
พิจารณาธรรมโดยความไม่เที่ยง เพื่อบรรลุอมตธรรม
ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักข้ามพ้นแม่น้ำคงคา ยมุนา
สรัสสดี ที่ไหลไปกระทั่งถึงบาดาล เป็นปากน้ำใหญ่น่า
กลัวนัก ไปได้ด้วยฤทธิ์โดยไม่ติดขัด ความตรึกเช่นนี้
ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักเว้นความเห็นว่านิมิตงามทั้งปวง
เสียโดยเด็ดขาด ขวนขวายอยู่ในฌาน แล้วทำลายความ
พอใจในกามคุณทั้งหลายเสียได้ เหมือนช้างทำลายเสา
ตะลุงและโซ่เหล็กแล้ว เที่ยวไปในสงครามฉะนั้น ความ
ตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักละความพอใจในกามคุณ ได้
บรรลุคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
แล้วเกิดความยินดี เปรียบเหมือนลูกหนี้ผู้ขัดสน เมื่อถูก
เจ้าหนี้บีบคั้นแล้ว แสวงหาทรัพย์มาได้และชำระหนี้เสร็จ
แล้วพึงดีใจฉะนั้น ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไร
หนอ.

ดูก่อนจิต ท่านได้อ้อนวอนเราเป็นเวลาหลายปีแล้ว
ว่าท่านไม่สมควรอยู่ครองเรือนเลย บัดนี้เราได้บวชสม
ประสงค์แล้ว เหตุไฉนท่านจึงละทิ้งสมถวิปัสสนา มัว
แต่เกียจคร้านอยู่เล่า.

ดูก่อนจิต ท่านได้อ้อนวอนเรามาแล้วมิใช่หรือว่า ฝูง
นกยูงมีขนปีกอันแพรวพราว และเสียงกึกก้องแห่งธาร
น้ำตกตามซอกเขา จะยังท่านผู้เพ่งฌานอยู่ในป่าให้
เพลิดเพลิน เรายอมสละญาติและมิตรที่รักใคร่ในตระกูล
สลัดความยินดีในการเล่นและกามคุณในโลกได้หมดแล้ว
ได้เข้าถึงป่าและบรรพชาเพศนี้แล้ว.

ดูก่อนจิต ส่วนท่านไม่ยินดีต่อเราผู้ดำเนินตามเสีย
เลย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่าจิตนี้เป็นของเรา ไม่ใช่ของ
ผู้อื่น จะประโยชน์อะไรด้วยการร้องไห้ร่ำพิไร ในเวลา
ทำสงครามกับกิเลสมาร เพราะจิตทั้งหมดนี้เป็นธรรมชาติ
หวั่นไหว ดังนี้จึงได้ออกบวช แสวงหาทางอันไม่ตาย.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลาย ผู้
เป็นจอมท้าวสักกเทวราช เป็นจอมสารถีฝึกนระ ตรัส
สุภาษิตไว้ว่า จิตนี้กวัดแกว่งเช่นวานร ห้ามได้แสนยาก
เพราะยังไม่ปราศจากความกำหนัด ปุถุชนทั้งหลายผู้ไม่
รู้เท่าทัน พัวพันอยู่ในกามทั้งหลาย อันล้วนแต่เป็นของ
งดงาม มีรสอร่อย น่ารื่นรมย์ใจ เขาเหล่านั้นเป็นผู้แสวง

หาภพใหม่ กระทำแต่สิ่งไร้ประโยชน์ อย่าประสงค์
ทุกข์ ย่อมถูกจิตนำไปสู่นรกโดยแท้.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราไว้ว่า ท่านจง
เป็นผู้แวดล้อมด้วยเสียงร่ำร้องแห่งนกยูง และนก-
กระเรียน อีกทั้งเสือเหลืองและเสือโคร่งอยู่ในป่า ท่าน
จงสละความห่วงใยในร่างกาย อย่ามีความอาลัยเลย.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงอุตส่าห์
เจริญฌาน อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และสมาธิภาวนา
จงบรรลุวิชชา 3 ในพระพุทธศาสนา.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงเจริญ
อัฏฐังคิกมรรคเพื่อบรรลุนิพพาน อันเป็นหางนำสัตว์ออก
จากโลก ให้ถึงความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นเครื่องชำระล้าง
กิเลสทั้งปวง.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงพิจารณา
เห็นเบญจขันธ์โดยอุบายอันแยบคายว่า เป็นทุกข์ จงละ
เหตุอันก่อให้เกิดทุกข์ จงทำที่สุดแห่งทุกข์ในอัตภาพนี้
เถิด.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงพิจารณา
เบญจขันธ์โดยอุบายอันแยบคายว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นของว่างเปล่าหาตัวตนมิได้ เป็นวิบัติ และว่า
เป็นผู้ฆ่า จงดับมโนวิจารเสียโดยแยบคายเถิด.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงปลงผม
และหนวดแล้ว ถือเอาเพศสมณะ มีรูปลักษณะอันแปลก
ต้องถูกเขาสาปแช่ง ถือเอาบาตรเที่ยวภิกษาตามตระกูล
จงประกอบตนอยู่ในคำสอนของพระบรมศาสดา ผู้แสวง
หาคุณอันยิ่งใหญ่เถิด.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงสำรวม
ระวังเมื่อเวลาเที่ยวไปบิณฑบาตตามระหว่างตรอก อย่ามี
ใจเกี่ยวข้องในตระกูลและกามารมณ์ทั้งหลาย เหมือน
พระจันทร์ในวันเพ็ญ เว้นจากโทษฉะนั้น.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงยินดีใน
ธุดงคคุณทั้ง 5 คือถืออยู่ในป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ถือการไม่นอนเป็นวัตร ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด.

บุคคลผู้ต้องการผลไม้ ปลูกต้นไม้ไว้แล้ว เก็บผล
ไม่ได้ ก็ประสงค์จะโค่นต้นไม้นั้นเสียฉันใด. ดูก่อนจิต
ท่านแนะนำเราผู้ใดให้หวั่นไหวในความไม่เที่ยง ท่านจง
ทำเราผู้นี้ให้เหมือนบุคคลผู้ปลูกต้นไม้ไว้ฉันนั้นเถิด.

ดูก่อนจิต ผู้หารูปมิได้ ไปได้ในที่ไกล เที่ยวไปแต่
ผู้เดียว บัดนี้เราจักไม่ทำตามคำของท่านแล้ว เพราะว่า
กามทั้งหลายล้วนเป็นทุกข์ มีผลเผ็ดร้อน เป็นภัยใหญ่

หลวง เราจักมีใจมุ่งนิพพานเท่านั้น เราไม่ได้ออกบวช
เพราะหมดบุญ เพราะไม่มีความละอาย เพราะเหตุแห่ง
จิต เพราะเหตุแห่งการทำผิดต่อชาติบ้านเมือง หรือ
เพราะเหตุแห่งอาชีพ.

ดูก่อนจิต ท่านได้รับรองกับเราไว้ว่า จักอยู่ในอำนาจ
ของเรามิใช่หรือ.

ดูก่อนจิต ท่านได้แนะนำเราไว้ในครั้งนั้นว่า ความ
เป็นผู้มักน้อย การละความลบหลู่คุณท่าน และความ
สงบระงับทุกข์ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ แต่บัดนี้ท่าน
กลับเป็นผู้มีความมักมากขึ้น เราไม่อาจกลับไปสู่ตัณหา
ราคะ ความรัก ความชัง รูปอันสวยงาม สุขเวทนา และ
เบญจกามคุณอันเป็นของชอบใจที่เราคายเสียแล้วอีก.

ดูก่อนจิต เราได้ปฏิบัติตามถ้อยคำของท่านในภพ
ทั้งปวงแล้ว เราไม่ได้มีความขุ่นเคืองต่อท่านหลายชาติ
มาแล้ว เพราะความที่ท่านมีความกตัญญู จึงปรากฏมี
อัตภาพนี้ขึ้นอีก ท่านทำให้เราต้องท่องเที่ยวไปในกอง
ทุกข์มาช้านานแล้ว.

ดูก่อนจิต ท่านทำให้เราเป็นพราหมณ์ก็มี เป็นพระ-
ราชามหากษัตริย์ก็มี เพราะอำนาจแห่งท่าน บางคราว
เราเป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นเทพเจ้าก็มี เพราะอำนาจ
แห่งท่าน เพราะเหตุแห่งท่าน มีท่านเป็นมูลเหตุ เราเป็น

อสูร บางคราวเป็นสัตว์นรก บางคราวเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
บางคราวเป็นเปรต ท่านได้ประทุษร้ายเรามาบ่อย ๆ มิใช่
หรือ บัดนี้ เราจักไม่ให้ท่านทำเหมือนกาลก่อนอีกละ
แม้เพียงครู่เดียว ท่านได้ล่อลวงเราเหมือนกับคนบ้า ได้
ทำความผิดให้แก่เรามาแล้วมิใช่หรือ.

จิตนี้แต่ก่อนเคยเที่ยวจาริกไปในอารมณ์ต่าง ๆ ตาม
ความประสงค์ ตามความใคร่ ตามความสบาย วันนี้
เราจักข่มจิตนั้นไว้โดยอุบายอันชอบ ดังนายหัตถาจารย์
ข่มช้างตัวตกมันไว้ด้วยของฉะนั้น.

พระศาสดาของเราได้ทรงตั้งโลกนี้ โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่เป็นแก่นสาร ดูก่อนจิต
ท่านจงพาเราบ่ายหน้าไปในศาสนาของพระชินสีห์ จง
พาเราข้ามจากห้วงน้ำใหญ่ที่ข้ามได้แสนยาก.

ดูก่อนจิต เรือนคืออัตภาพของท่านนี้ ไม่เป็นเหมือน
กาลก่อนเสียแล้ว เพราะจักไม่เป็นไปตามอำนาจของท่าน
อีกต่อไป เราได้ออกบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้
แสวงหาประโยชน์อันยิ่งใหญ่แล้ว สมณะทั้งหลายผู้ทรง
ความพินาศไม่เป็นเช่นเรา ภูเขา มหาสมุทร แม่น้ำ
คงคาเป็นต้น แผ่นดิน ทิศใหญ่สี่ ทิศน้อยสี่ ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องต่ำ และภพสาม ล้วนเป็นสภาพไม่เที่ยง มีแต่
ถูกเบียดเบียนอยู่เสมอ.

ดูก่อนจิต ท่านจะไป ณ ที่ไหนเล่า จึงจะมีความสุข
รื่นรมย์.

ดูก่อนจิต เบื้องหน้าแต่จิตของเราตั้งมั่นแล้ว ท่านจัก
ทำอะไรแก่เราได้ เราไม่เป็นไปตามอำนาจของท่านแล้ว.

บุคคลไม่ควรถูกต้องไถ้สองปาก คือร่างกายอันเต็ม
ไปด้วยของไม่สะอาด มีช่อง 9 ช่องเป็นที่ไหลออก น่า
ติเตียน ท่านผู้ไปสู่เรือนคือถ้ำ ที่เงื้อมภูเขาอันสวยงาม
ตามธรรมชาติ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งสัตว์ป่า คือหมูและ
กวาง และในป่าที่ฝนตกใหม่ ๆ จักได้ความรื่นรมย์ใจ
ณ ที่นั้นฝูงนกยูงมีขนที่คอเขียว มีหงอนและปีกงาม ลำ-
แพนหางมีแวววิจิตรนัก ส่งสำเนียงก้องกังวานไพเราะ
จับใจ จักยังท่านผู้บำเพ็ญฌานอยู่ในป่าให้ร่าเริงได้ เมื่อ
ฝนตกแล้วหญ้างอกยาวประมาณ 4 นิ้ว ท้องฟ้างามแจ่มใส
ไม่มีเมฆปกคลุม เมื่อท่านทำตนให้เสมอด้วยไม้ แล้ว
นอนอยู่บนหญ้าระหว่างภูเขานั้น จะรู้สึกอ่อนนุ่มดังสำลี
เราจักกระทำให้เหมือนผู้ใหญ่ จะยินดีด้วยปัจจัยตามมี
ตามได้ บุคคลผู้ไม่เกียจคร้าน ย่อมกระทำจิตของตนให้
สมควรแก่การงานฉันใด เราจักกระทำจิตฉันนั้น เหมือน
บุคคลเลื่อนถุงใส่แมวไว้ฉะนั้น เราจักทำให้เหมือนผู้ใหญ่
จักยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ จักนำท่านไปสู่อำนาจ
ของเราด้วยความเพียร เหมือนนายหัตถาจารย์ผู้ฉลาด

นำช้างที่ซับมันไปสู่อำนาจของตนด้วยขอฉะนั้น เราย่อม
สามารถที่จะดำเนินตามหนทางอันเกษมสุข ซึ่งเป็นทาง
อันบุคคลผู้ตามรักษาจิต ได้ดำเนินมาแล้วทุกสมัย ด้วย
หทัยอันเที่ยงตรง ที่ท่านฝึกฝนไว้ดีแล้ว มั่นคงแล้ว เปรียบ
เหมือนนายอัสสาจารย์ สามารถจะดำเนินไปตามภูมิสถาน
ที่ปลอดภัย ด้วยม้าที่ฝึกดีแล้วฉะนั้น.

เราจักผูกจิตไว้ในอารมณ์ คือกรรมฐานด้วยกำลัง
ภาวนา เหมือนนายหัตถาจารย์มัดช้างไว้ที่เสาตะลุงด้วย
เชือกอันมั่นคงฉะนั้น จิตที่เราคุ้มครองดีแล้ว อบรมดีแล้ว
ด้วยสติ จักเป็นจิตอันตัณหาเป็นเต้นไม่อาศัยในภพทั้งปวง
ท่านจงตัดทางดำเนินที่ผิดเสียด้วยปัญญา ข่มใจให้ดำเนิน
ไปในทางที่ถูกด้วยความเพียร ได้เห็นแจ้งทั้งความเกิด
ขึ้นและความเสื่อมไป แล้วจักได้เป็นทายาทของพระ-
พุทธเจ้า ผู้มักแสดงธรรมอันประเสริฐ.

ดูก่อนจิต ท่านได้นำเราให้เป็นไปตามอำนาจของ
ความเข้าใจผิด 4 ประการ เหมือนบุคคลจูงเด็กชาวบ้าน
วิ่งวนไปฉะนั้น ท่านควรคบหาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตัด
เครื่องเกาะเกี่ยวและเครื่องผูกเสียได้ เพียบพร้อมด้วย
พระมหากรุณา เป็นจอมปราชญ์มิใช่หรือ มฤคชาติเข้า
ไปยังภูเขาอันน่ารื่นรมย์ ประกอบด้วยน้ำและดอกไม้
เที่ยวไปในป่าอันงดงามตามลำพังใจฉันใด ดูก่อนจิต

ท่านก็จักรื่นรมย์อยู่ในภูเขา ที่ไม่เกลื่อนกล่นด้วยผู้คน
ตามลำพังใจฉันนั้น เมื่อท่านไม่ยินดีอยู่ที่ภูเขานั้น ท่าน
ก็จักต้องเสื่อมโดยไม่ต้องสงสัย.

ดูก่อนจิต หญิงชายเหล่าใดประพฤติตามความพอใจ
ตามอำนาจของท่าน แล้วเสวยความสุขใดอันอาศัย
เบญจกามคุณ หญิงชายเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้โง่เขลา ตก
อยู่ในอำนาจของมาร เป็นผู้เพลิดเพลิน อยู่ในภพน้อย
ภพใหญ่ และชื่อว่าเป็นสาวกของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กทา นุหํ ตัดเป็น กทา นุ อหํ เมื่อไร
หนอไร.
บทว่า ปพฺพตกนฺทราสุ ความว่า ณ ที่ภูเขาและซอกเขา หรือที่
ซอกแห่งภูเขา.
บทว่า เอกากิโย แปลว่า ผู้ ๆ เดียว. บทว่า อทฺทุติโย แปลว่า
ไม่มีตัณหา. ก็ตัณหา ชื่อเป็นที่ 2 ของบุรุษ. บทว่า วิหสฺสํ แปลว่า
จักอยู่.
บทว่า อนิจฺจโต สพฺพภวํ วิปสฺสํ มีวาจาประกอบความว่า เรา
เมื่อพิจารณาเห็นภพแม้ทั้งหมด ต่างด้วยกามภพเป็นต้นว่า ชื่อว่า ไม่เที่ยง
เพราะมีแล้วกลับไม่มี ดังนี้ จักอยู่เมื่อไรหนอ. ก็คำนั้นมีอันแสดงเป็น
นิทัศน์ พึงทราบว่า ท่านกล่าวลักษณะทั้งสองแม้นอกนี้ไว้แล้วแล. เพราะ
พระบาลีว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา.

บทว่า ตํ เม อิทํ ตํ นุ กทา ภวิสฺสติ ความว่า ความปริวิตก
ของเรานี้นั้น จักมีเมื่อไรหนอ, คือจักถึงที่สุดเมื่อไรหนอ ?
ก็บทว่า ตํ ในบทว่า ตํ นุ นี้ เป็นเพียงนิบาต. ในที่นี้มีความ
สังเขปดังต่อไปนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราตัดเครื่องผูกคือคฤหัสถ์ เหมือนช้าง
ใหญ่ตัดเครื่องผูกเท้าช้าง ออกบวช พอกพูนกายวิเวก เป็นผู้โดดเดี่ยว
ไม่มีเพื่อนสอง ในซอกเขาทั้งหลาย ไม่อาลัยในอารมณ์ทั้งปวง พิจารณา
เห็นสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยงจักอยู่.
บทว่า ภินฺนปฏนฺธโร ความว่า เป็นผู้ทรงผ้าที่ถูกทำลาย, ท่าน
กล่าวไว้โดยลง อาคม เพื่อสะดวกแก่คาถา. อธิบายว่า ทรงไว้ซึ่งแผ่นผ้า
เป็นจีวรที่ตัดด้วยศาสตรา ทำลายสัมผัสและสีอันเลิศ.
บทว่า มุนิ ได้แก่ บรรพชิต.
บทว่า อมโม ความว่า ชื่อว่า ไม่ยึดถือสิ่งใดว่าเป็นของตัว เพราะ
ไม่มีความยึดถือในตระกูลหรือคณะ ว่าเป็นของ ๆ ตัว. ชื่อว่าไม่มีความ
หวัง เพราะไม่มีความหวังในอารมณ์แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า หนฺตฺวา สุขี ปวนคโต วิหสฺสํ ความว่า เราจักตัดกิเลส
มีราคะเป็นต้นด้วยอริยมรรค อยู่เป็นสุข ด้วยสุขเกิดแต่มรรคและสุขอัน
เกิดแต่ผล ไปสู่ป่าใหญ่ จักอยู่เมื่อไรหนอ.
บทว่า วธโรคนีฬํ ความว่า เป็นรังแห่งมรณะ และเป็นรังแห่ง
โรค.
บทว่า กายํ อิมํ ได้แก่ ซึ่งกายกล่าวคือขันธ์ 5 นี้. จริงอยู่ ขันธ์
ทั้ง 5 ท่านเรียกว่า กาย ในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย กายนี้แล

คือนามรูปในภายนอก สำหรับบุรุษบุคคลผู้ถูกอวิชชาครอบงำ ผู้ถูกตัณหา
ติดตาม.
บทว่า มจฺจุชรายุปทฺทุตํ ความว่า ถูกมรณะและชราบีบคั้น. อธิบาย
ว่า เราเมื่อพิจารณาเห็น ชื่อว่า เป็นผู้ปราศจากภัย เพราะละเหตุแห่งภัย
เสียได้ จักมีเมื่อไรหนอ.
บทว่า ภยชนนึ ความว่า เป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งภัยใหญ่ 25 ชื่อว่า
นำมาซึ่งทุกข์ เพราะนำมาซึ่งทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้น ที่เป็นไปทางกายและ
เป็นไปทางใจ.
บทว่า ตณฺหาลตํ พหุวิธานุวตฺตนึ ความว่า ตัณหาคือเครือเถา
อันชื่อว่า เป็นไปตามมากหลาย เพราะเป็นไปตาม คือแล่นไปตามอารมณ์
หรือภพเป็นอันมาก.
บทว่า ปญฺญามยํ มีวาจาประกอบความว่า จับพระขรรค์คือดาบ
อันสำเร็จด้วยมรรคปัญญาที่ลับดีแล้วด้วยหัตถ์ คือศรัทธาอันประคองไว้
ด้วยวิริยะ แล้วตัด ตรึกไปว่า เมื่อไรหนอเราพึงอยู่ เมื่อไรหนอความตรึก
นั้นจักสำเร็จ.
บทว่า อุคฺคเตชํ ความว่า มีเดชกล้า เพราะอาศัยอำนาจสมถะ
และวิปัสสนา.
บทว่า สตฺถํ อิสีนํ ความว่า เป็นศัสตราของพระพุทธเจ้า พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวกและฤาษีทั้งหลาย.
บทว่า มารํ สเสนํ สหสา ภญฺชิสฺสํ ความว่า เราจักหักมารมี
อภิสังขารมารเป็นต้น พร้อมด้วยเสนาคือกิเลส ชื่อสเสนะ โดยพลัน
คือโดยเร็วทีเดียว.

บทว่า สีหาสเน ได้แก่ บนอาสนะอันมั่นคง อธิบายว่า บน
อปราชิตบัลลังก์.
บทว่า สพฺภิ สมาคเมสุ ทิฏฺโฐ ภเว มีวาจาประกอบความว่า
เราได้เห็นในการสมาคมด้วยคนดีทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้ชื่อว่า
หนักในธรรม เพราะประกอบด้วยความเคารพในธรรม ชื่อว่า ผู้คงที่
เพราะถึงลักษณะแห่งผู้คงที่ ชื่อว่า ผู้เห็นตามความเป็นจริง เพราะมีความ
เห็นไม่วิปริต ชื่อว่า ผู้มีอินทรีย์อันชนะแล้ว เพราะมีอินทรีย์อันชนะบาป
ด้วยอริยมรรคนั่นแล, ว่าเมื่อไรหนอ เราจักมีความเพียร เพราะฉะนั้น
ความตรึกของเรานั้นจักสำเร็จเมื่อไร ? โดยนัยนี้ พึงทราบบทโยชนาใน
ที่ทั้งปวง เราจักพรรณนาเพียงอรรถเฉพาะบทเท่านั้น.
บทว่า ตนฺทิ แปลว่า ความเกียจคร้าน.
บทว่า ขุทา แปลว่า ความหิว.
บทว่า กีฏสิรีสปา ได้แก่ แมลงและสัตว์เลื้อยคลาน.
บทว่า น พาธยิสฺสนฺติ อธิบายว่า จักไม่เบียดเบียนเรา เพราะ
ห้ามสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสเสียได้ด้วยฌาน.
บทว่า คิริพฺพเช ได้แก่ ในซอกเขา.
บทว่า อตฺถตฺถิยํ ความว่า มีความต้องการด้วยประโยชน์ กล่าวคือ
ประโยชน์ตน.
บทว่า ยํ วิทิตํ มเหสินา ความว่า สัจจะ 4 อันท่านผู้แสวงหาคุณ
อันยิ่งใหญ่ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้แล้วคือแทงตลอดแล้ว, เราผู้
มีจิตตั้งมั่นดีแล้วด้วยมรรคสมาธิ เป็นผู้มีสติด้วยสัมมาสติ มาถึง คือจักแทง

ตลอด ได้แก่ จักบรรลุสัจจะ 4 เหล่านั้นที่เห็นได้แสนยาก ด้วยกุศลสมภาร
อันเราสั่งสมมาด้วยปัญญาในอริยมรรค.
บทว่า รูเป ได้แก่ ในรูปอันจะรู้ได้ด้วยจักษุ.
บทว่า อมิเต ความว่า ไม่รู้แล้วด้วยญาณ อธิบายว่า กำหนดไม่ได้
แล้ว คือกำหนดรู้ไม่ได้แล้ว.
บทว่า ผุสิเต แปลว่า พึงถูกต้อง. บทว่า ธมฺเม ได้แก่ ในธรรม
ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อมิเต ได้แก่ ในรูปหาประมาณมิได้ คือ
แตกต่างกันหลายประเภท ด้วยสามารถสีเขียวเป็นต้น, และสัททรูปเป็นต้น
อันแตกต่างกันหลายประเภท ด้วยอำนาจเสียงกลองเป็นต้น ด้วยอำนาจ
รสที่รากเป็นต้น ด้วยสามารถความเป็นของหยาบและอ่อนเป็นต้น และ
ด้วยอำนาจเป็นสุขและทุกข์เป็นต้น.
บทว่า อาทิตฺตโต เพราะเป็นธรรมชาติ อันไฟ 11 กองติดทั่ว
แล้ว.
บทว่า สมเถหิ ยุตฺโต ได้แก่ ประกอบด้วยฌาน วิปัสสนา และ
มรรคสมาธิ.
บทว่า ปญฺญาย ทจฺฉํ ความว่า จักเห็นด้วยปัญญาในมรรค อัน
ประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา.
บทว่า ทุพฺพจเนน วุตฺโต ได้แก่ สืบต่อด้วยคำที่กล่าวชั่ว.
บทว่า ตโต นิมิตฺตํ ได้แก่ เพราะเหตุแห่งผรุสวาจา.
บทว่า วิมโน น เหสฺสํ ความว่า ไม่พึงเกิดโทมนัส.

บทว่า อโถ แก้เป็น อถ แปลว่า อนึ่ง.
บทว่า กฏฺเฐ ได้แก่ ในท่อนไม้. บทว่า ติเณ ได้แก่ กองหญ้า.
บทว่า อิเม ได้แก่ ขันธ์ 5 อันนับเนื่องในสันตติของเราเหล่านี้.
บทว่า อมิเต จ ธมฺเม ได้แก่ ในรูปธรรม อันกำหนดนับไม่ได้
ด้วยอินทรีย์ขันธ์อื่น. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นไปในภายในและ
เป็นไปในภายนอก ดังนี้.
บทว่า สมํ ตุเลยฺยํ ความว่า พิจารณาสิ่งทั้งปวงให้สม่ำเสมอทีเดียว
ด้วยสามารถอนิจจลักษณะเป็นต้น และด้วยสามารถอุปมาด้วยสิ่งอันหาสาระ
มิได้เป็นต้น.
บทว่า อิสิปฺปยาตมฺหิ ปเถ วชนฺตํ ความว่า ไปอยู่ คือดำเนินไป
อยู่ในทางสมถะและวิปัสสนา อันท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้น ทรงชำระแล้วโดยชอบแล้ว. ในสมัยฝนตก ท่านแสดง
ถึงความปริวิตกถึงภาวะที่ตนอยู่ในกลางแจ้ง ว่าเมื่อไรหนอฝนจักตกลงใน
ป่าทึบ ยังจีวรของตนให้เปียกด้วยน้ำ คือด้วยน้ำฝนตกใหม่.
บทว่า มยูรสฺส สิขณฺฑิโน วเน ทิชสฺส ได้แก่ ทิชชาติด้วย
อำนาจเกิด 2 ครั้ง คือเกิดจากท้องมารดา 1 เกิดจากฟองไข่ 1 ก็เมื่อไร
เราจะได้ยินเสียงร้อง คือเสียงร้องของนกยูง โดยสมภพของนกยูง และ
โดยหางของนกยูงในป่า คือที่ซอกเขา แล้วกำหนดเวลาออกจากที่นอน
แล้ว บรรลุอมตะ คือบรรลุพระนิพพาน.
บทว่า สญฺจินฺตเย ความว่า พึงกระทำไว้ในใจ คือพึงเห็นแจ้ง
ภพที่จะกล่าวอยู่ โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.

บทว่า คงฺคํ ยมุนํ สรสฺสตึ มีวาจาประกอบ ความว่า เมื่อไรหนอ
ความตรึกของเรานี้ พึงไหลไปยังแม่น้ำใหญ่เหล่านั้นไม่ติดขัด ด้วยฤทธิ์
อันสำเร็จด้วยภาวนา.
บทว่า ปาตาลขิตฺตํ พฬวามุขญฺจ ความว่า พอละ คือถึงที่สุดแห่ง
การตกไป ฉะนั้นจึงชื่อว่าบาดาล ซัดไปสู่บาดาลนั้นนั่นแหละ, คือดำรงอยู่
อย่างนั้นในเวลาตั้งแผ่นดิน เพราะฉะนั้น ชื่อว่า ชัดให้ไหลไปยังบาดาล
ที่เหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นที่อยู่ของนาคเป็นต้น หรือที่ตั้งอยู่แล้วโดยว่างเปล่า
นั่นเอง ชื่อว่าที่ฝั่งแผ่นดินในมหาสมุทรมีร้อยโยชน์เป็นต้นเป็นประเภท.
บทว่า พฬวามุขํ ได้แก่ ปากน้ำวนใหญ่ในมหาสมุทร จริงอยู่
ในเวลาประตูมหานรกเปิด ท่อไฟใหญ่พุ่งออกจากประตูมหานรกนั้น
เบื้องหน้าแต่นั้น ไหม้ส่วนภายใต้มหาสมุทรยาวและกว้างหลายร้อยโยชน์
เมื่อส่วนภายใต้มหาสมุทรถูกไฟไหม้ น้ำข้างบนก็วนเวียนโดยอาการเป็น
บ่อตกลงในภายใต้ด้วยเสียงดัง ในที่นั้นมีสมัญญาว่าปากน้ำใหญ่ ดังนั้น
แม้น้ำที่ไหลไปยังบาดาลและปากน้ำใหญ่ น่าหวาดเสียวน่าสะพึงกลัว เมื่อ
ไรหนอ จะพึงไหลตกไปด้วยกำลังฤทธิ์ไม่ติดขัด ดังนั้น ความตรึกของเรา
จักพึงมีเมื่อไรหนอ เราพึงยังฤทธิ์อันสำเร็จด้วยภาวนาให้บังเกิด จักค้น
พบรอยฤทธิ์อย่างนี้ได้เมื่อไรหนอ.
บทว่า นาโคว อสงฺคจารี ปหาลเย ความว่า ช้างตัวซับมันทำลาย
เสาอันมั่น กำจัดโซ่เหล็ก ทำลายเสาตะลุง เข้าไปสู่ป่า เป็นผู้ ๆ เดียว
ไม่มีเพื่อนสอง เที่ยวไปตามความชอบใจของตนฉันใด เราก็ฉันนั้น เมื่อ
ไรหนอ จะละทิ้งนิมิตที่ได้ยินมาทุกอย่าง คือเว้นเสียโดยไม่มีส่วนเหลือ
ไม่เป็นไปในอำนาจแห่งกามฉันทะ ประกอบการขวนขวายในฌาน พึง

ทำลาย พึงตัด พึงละความพอใจในกามคุณ เพราะฉะนั้น ความตรึกของ
เรานั้นจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.
บทว่า อิณฏฺโฏว ทลิทฺทโก นิธึ อาราธยิตฺวา ความว่า คนจนบาง
คนเป็นผู้มีการเลี้ยงชีพเป็นปกติ กู้หนี้ เมื่อไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ มีคดี
เพราะหนี้ คืออึดอัดใจเพราะหนี้ ถูกเจ้าทรัพย์บีบคั้น ครั้นยินดีคือ
ประสบชุมทรัพย์ และชำระหนี้แล้ว พึงเป็นอยู่ ยินดีโดยความสุขฉันใด
แม้เราก็ฉันนั้น เมื่อไรหนอ จะพึงละกามฉันทะอัน เป็นเสมือนกับผู้ไม่มี
หนี้ แล้วประสบความยินดีในพระศาสนาของท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
คือพระศาสนาของพระพุทธเจ้า อันเป็นเสมือนขุมทรัพย์อันเต็มไปด้วย
รัตนะ มีแก้วมณีและทองคำเป็นต้น เพราะเพียบพร้อมไปด้วยอริยทรัพย์
เพราะฉะนั้น ความตรึกของเรานั้นจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.
ครั้นแสดงความเป็นไปแห่งวิตกของตน อันเป็นแล้วด้วยอำนาจ
เนกขัมมวิตกในกาลก่อน แต่การบรรพชาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ครั้นบวช
แล้ว เมื่อจะแสดงอาการอันเป็นเหตุให้สอนตนแล้วจึงบรรลุ จึงได้กล่าว
คาถามีอาทิว่า พหูนิ วสฺสานิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหูนิ วสฺสานิ ตยามฺหิ ยาจิโต
อคารวาเสน อลํ นุ เต อิทํ
ความว่า ดูก่อนจิตผู้เจริญ เราถูกท่าน
อ้อนวอนมาหลายปีแล้วมิใช่หรือว่า พอละ คือถึงที่สุดแล้วสำหรับท่าน ด้วย
การอยู่ในท่ามกลางเรือน ด้วยการตามผูกพันทุกข์ต่าง ๆ อยู่หลายปี.
บทว่า ตํ ทานิ มํ ปพฺพชิตํ สมานํ ความว่า ดูก่อนจิต ท่านไม่
ประกอบเรานั้น ผู้เป็นบรรพชิต ด้วยความอุตสาหะเช่นนั้น ด้วยเหตุ
อย่างหนึ่ง อธิบายว่า ทิ้งสมถะและวิปัสสนา ประกอบในความเกียจคร้าน
อันเลว.

บทว่า นนุ อหํ จิตฺต ตยามฺหิ ยาจิโต อธิบายว่า ดูก่อนจิตผู้เจริญ
เราเป็นผู้อันท่านอ้อนวอน คือยังจะขอร้องมิใช่หรือ ? ถ้าท่านขอร้อง
เพราะเหตุไร ? ท่านจึงไม่ปฏิบัติให้สมควรแก่ความขอร้องนั้น.
ท่านแสดงถึงอาการขอร้อง โดยนัยมีอาทิว่า คิริพฺพเช ดังนี้,
อธิบายว่า วิหค มีขนปีกอันแพรวพราว คือมีขนหางและปีกอันวิจิตร
อธิบายว่า นกยูง.
บทว่า มหินฺทโฆสตฺถนิตาภิคชฺชิโน ความว่า มีการแผดเสียงเป็น
ปกติด้วยดี ด้วยเหตุที่เสียงอันกึกก้องจากสายน้ำ.
ด้วยบทว่า เต ตํ รเมสฺสนฺติ วนมฺหิ ฌายินํ ท่านแสดงว่า เรา
ถูกท่านอ้อนวอนมิใช่หรือว่า นกยูงเหล่านั้น จักให้เรานั้นผู้ขวนขวายใน
ฌานในป่าเกิดความยินดี.
บทว่า กุลมฺหิ ความว่า ในการเวียนมาแห่งตระกูล.
บทว่า อิมมชฺฌุปาคโต ความว่า วันนี้ ท่านมาใกล้ที่ป่า หรือ
บรรพชานี้.
บทว่า อโถปิ ตฺวํ จิตฺต น มยฺห ตุสฺสสิ ความว่า ท่านจักไม่ยินดี
กะเราแม้ผู้ประพฤติตามตั้งอยู่เสียเลย.
บทว่า มเมว เอตํ น หิ ตฺวํ ปเรสํ อธิบายว่า ดูก่อนจิต เพราะ
ท่านพิจารณาเห็นว่าจิตนี้เป็นของเราเท่านั้นไม่ใช่ของคนเหล่าอื่น. แต่ใน
เวลาสงบท่านทำจิตนี้ให้เป็นเหมือนของคนเหล่าอื่น ด้วยการสงบภาวนา
เพื่อลบกิเลสมารทั้งหลาย เพราะกระทำอธิบายดังว่ามานี้ ท่านจะประโยชน์
อะไรด้วยกับการร้องไห้อยู่เล่า บัดนี้ เราจักไม่ให้ท่านประพฤติโดย
ประการอื่น.

บทว่า สพฺพํ อิทํ จลมิตํ เปกฺขมาโน อธิบายว่า เพราะเหตุที่
เมื่อเราตรวจดูด้วยปัญญาจักษุว่า จิตนี้ เป็นอื่นทั้งหมดมีสังขารเป็นไปใน
ภูมิ 3 กวัดแกว่ง ไม่ตั้งมั่น อยากได้ แสวงหาการออกจากเรือน และ
จากกามทั้งหลาย คืออมตบท คือพระนิพพาน ฉะนั้น จึงไม่ไปตามจิต
กระทำการแสวงหาพระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น.
มีวาจาประกอบความว่า จิตห้ามได้แสนยาก เพราะไม่ปราศจาก
ราคะ เป็นเช่นกับลิง ด้วยอำนาจการฝึก เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวแต่
คำที่ควรด้วยดี กล่าวคำเป็นแต่สุภาษิต เป็นนายสารถีฝึกนระ ผู้อันเขา
สักการะอย่างยิ่งใหญ่ สูงสุดกว่าสัตว์ 2 เท้า.
บทว่า อวิทฺทสุ ยตฺถ สิตา ปุถุชฺชนา ความว่า อันธปุถุชน
เหล่านั้น ผูกติดอยู่ คือเนื่องเฉพาะในวัตถุกามและกิเลสกามอย่างใดอย่าง
หนึ่งแสวงหาภพใหม่ด้วยกามราคะนั้น ปรารถนาทุกข์โดยส่วนเดียวเท่านั้น
และเมื่อปรารถนา จึงถูกจิตนำไป คือถูกทอดทิ้งในนรก เพราะฉะนั้น
จึงเป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งจิต กระทำกรรมอันเป็นทางแห่งนรก เป็น
ผู้ทอดทิ้งจากหิตสุข คือถูกนำไปในนรกโดยจิตของตนนั้นเอง ไม่นำไป
โดยประการอื่น เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงความที่จิตเท่านั้นที่ควรข่ม.
เมื่อรู้เพื่อจะข่มจิตนั่นแลแม้อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มยูรโกญฺจา-
ภิรุตมฺหิ
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มยูรโกญฺจาภิรุตมฺหิ ความว่า อัน
นกยูงและนกกระไนร้อง.
บทว่า ทีปีหิ พยคฺเฆหิ ปุรกฺขโต วสํ ความว่า เป็นผู้แวดล้อม
คือห้อมล้อมด้วยสัตว์ดิรัจฉานเห็นปานนั้น เพราะเป็นผู้อยู่ด้วยเมตตา-

กรรมฐานเป็นอารมณ์อยู่ในป่า ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงกล่าวการเจริญความ
ว่างเปล่า.
บทว่า กาเย อเปกฺขํ ชห ความว่า จงละไม่อาลัยในกายโดย
ประการทั้งปวง, เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงที่บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น.
บทว่า มา วิราธย ความว่า อย่ายังขณะที่ 9 อันได้แสนยากนี้ให้
ล้มเหลว.
บทว่า อิติสฺสุ มํ จิตฺต ปุเร นิยุญฺชสิ ความว่า ดูก่อนจิต
ท่านประกอบเราไว้ในสัมมาปฏิบัติก่อนแต่บวช ด้วยประการฉะนี้แล.
บทว่า ภาเวหิ ความว่า จงให้เกิดและให้เจริญ.
บทว่า ฌานิ ได้แก่ ฌาน 4 มีปฐมฌานเป็นต้น.
บทว่า อินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์ 5 มีสัทธินทรีย์เป็นต้น.
บทว่า พลานิ ได้แก่ พละ 5 เหล่านั้นนั่นแล.
บทว่า โพชฺฌงฺคสมาธิภาวนา ได้แก่ โพชฌงค์ 7 และสมาธิ-
ภาวนา 4.
บทว่า ติสฺโส จ วิชฺชา ได้แก่ วิชชา 3 มีปุพเพนิวาสญาณ
เป็นต้น, ท่านตั้งอยู่ในพระพุทธศาสนา คือในโอวาทของพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า จงถูกต้อง คือจงบรรลุ.
บทว่า นิยฺยานิกํ ได้แก่ นำออกจากวัฏทุกข์.
บทว่า สพฺพทุกฺขกฺขโยคธํ ได้แก่ หยั่งลงในอมตะ คือมีพระ-
นิพพานเป็นที่พึ่ง ได้แก่ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์.
บทว่า สพฺพกิเลสโสธนํ ความว่า ชำระมลทิน คือกิเลสไม่ให้มี
ส่วนเหลือ.

บทว่า ขนฺเธ ได้แก่ อุปาทานขันธ์.
บทว่า ปฏิปสฺส โยนิโส ความว่า จงเห็นด้วยอุบายโดยชอบด้วย
วิปัสสนาญาณ โดยประการต่าง ๆ มีอาทิอย่างนี้ว่า โดยเป็นโรค โดย
เป็นดุจฝี โดยเป็นดุจลูกศร โดยเป็นความคับแค้น โดยเป็นอาพาธ.
บทว่า ตํ ชห ความว่า จงละ คือจงถอนตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
นั้น.
บทว่า อิเธว ได้แก่ ในอัตภาพนี้เท่านั้น.
บทว่า อนิจฺจํ เป็นต้น ความว่า ท่านจงเห็นว่าไม่เที่ยง เพราะมี
ที่สุด เพราะไม่ล่วงความเป็นของไม่เที่ยงไปได้ เพราะเป็นไปชั่วกาล
เท่านั้น และปฏิเสธต่อความเที่ยง. บทว่า ทุกฺขํ ความว่า จงเห็นว่าเป็น
ทุกข์ เพราะถูกความเกิดขึ้นและดับไปบีบคั้น เพราะมีภัยเกิดขึ้นเฉพาะ
หน้า เพราะทนได้ยาก เพราะปฏิเสธความสุข.
บทว่า สุญฺญํ ความว่า ชื่อว่า ว่างเปล่า เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ
เพราะไม่มีเจ้าของ เพราะไม่มีสาระ และเพราะปฏิเสธอัตตา เพราะเหตุ
นั้นนั่นแล จึงชื่อว่าเป็นอนัตตา. มีวาจาประกอบความว่า จงพิจารณา
เห็นโดยแยบคายว่า เป็นทุกข์และเป็นผู้ฆ่า เพราะเป็นอันจะพึงถูกติเตียน
แลเป็นความเจ็บป่วยหาความเจริญมิได้.
บทว่า มโนวิจาเร อุปรุนฺธ เจตโส ความว่า จงปิดกั้น คือจง
ห้าม ได้แก่ จงดับความสำคัญทางมโนวิจารทางใจ 18 อย่าง มีการ
พิจารณาถึงโสมนัสเป็นต้นอันอาศัยเรือน.
บทว่า มุณฺโฑ ความว่า เข้าถึงซึ่งความเป็นคนโล้น คือเป็นผู้
ปลงผมและหนวด.

บทว่า วิรูโป ความว่า เป็นผู้ผิดรูป คือเข้าถึงความเป็นผู้มีรูปต่าง
กัน เพราะเป็นคนโล้นนั้น เพราะมีขนรกรุงรัง เพราะมีผ้ากาสายะถูก
ทำลาย.
บทว่า อภิสาปมาคโต ความว่า เข้าถึงการถูกสาปแช่งอย่างยิ่ง อัน
พระอริยเจ้าทั้งหลายควรกระทำว่า ผู้มีก้อนข้าวมีบาตรอยู่ในมือเที่ยวไป.
สมจริงดังคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านเป็นผู้มีก้อนข้าว
มีบาตรในมือเที่ยวไปในโลก นี้เป็นผู้ถูกสาปแช่ง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ท่านเป็นเหมือนมีกระเบื้องในมือ เที่ยวขอในตระกูล.
บทว่า ยุญฺชสฺสุ สตฺถุวจเน ความว่า จงการทำการประกอบ คือ
จงประกอบเนือง ๆ ในโอวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
บทว่า สุสํวุตตฺโต ความว่า ผู้สำรวมโดยชอบแล้ว ด้วยกาย วาจา
และจิตด้วยดี.
บทว่า วิสุขนฺตเร จรํ ความว่า เที่ยวไปอยู่ในตรอกพิเศษเพื่อ
ภิกขาจาร.
บทว่า จนฺโท ยถา โทสินปุณฺณมาสิยา มีวาจาประกอบความว่า
จงเที่ยวไปเหมือนพระจันทร์เพ็ญปราศจากโทษ ใหม่อยู่เป็นนิจในตระกูล
น่าเลื่อมใส.
บทว่า สทา ธุเต รโต ความว่า ยินดียิ่งในธุดงคคุณตลอดกาล
ทั้งสิ้น.
บทว่า ตถูปมํ จิตฺตมิทํ กโรสิ ความว่า บุรุษบางคนปรารถนา
ผลไม้ ปลูกต้นไม้มีผล พอได้ผลจากต้นไม้นั้น ก็ปรารถนาจะตัดต้นไม้

นั้นแต่รากฉันใด ดูก่อนจิต ท่านจงกระทำข้อนี้ให้เหมือนกับบุรุษนั้น
คือให้มีส่วนเปรียบกับต้นไม้นั้นฉันนั้น.
บทว่า ยํ มํ อนิจฺจมฺหิ จเล นิยุญฺชสิ ความว่า ท่านประกอบ
เราใดไว้ในบรรพชา แล้วประกอบผลแห่งการบรรพชา ที่เป็นไปตลอด
กาลนาน ในความไม่เที่ยงในความหวั่นไหว ในปากทางแห่งสงสาร
คือให้เป็นไปด้วยอำนาจการประกอบไว้.
ชื่อว่า อรูป เพราะไม่มีรูป. จริงอยู่ สัณฐานเช่นนั้น หรือประเภท
แห่งสีมีสีเขียวเป็นต้น ย่อมไม่มีแก่จิต เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าไม่มีรูป.
ชื่อว่า ทูรงฺคม เที่ยวไปในที่ไกลเพราะเป็นไปในที่ไกล. แม้ถ้าว่า
ชื่อว่าการไปของจิต โดยส่วนแห่งทิศมีทิศตะวันออกเป็นต้น แม้เพียงใย
แมลงมุม ย่อมไม่มีแก่จิตนั้น แต่ย่อมรับอารมณ์ที่มีอยู่ในที่ไกล เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทูรงฺคม เที่ยวไปในที่ไกล.
ท่านเป็นผู้ ๆ เดียวเท่านั้น ชื่อว่า เอกจารี ผู้ ๆ เดียวเที่ยวไป
เพราะเป็นไปด้วยอำนาจเป็นผู้ผู้เดียวเท่านั้นเที่ยวไป. โดยที่สุดจิตทั้ง 2-3
ดวง ชื่อว่าสามารถเพื่อจะเกิดขึ้นพร้อมกันย่อมไม่มี แต่จิตดวงเดียวเท่านั้น
ย่อมเกิดขึ้นในสันดานเดียวกัน เมื่อจิตนั้นดับแล้วย่อมเกิดขึ้นดวงเดียว
เท่านั้นแม้อีก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าดวงเดียวเที่ยวไป.
บทว่า น เต กริสฺสํ วจนํ อิทานิหํ ความว่า แม้ถ้าเป็นไป
ในอำนาจของท่านในกาลก่อนไซร้ ก็บัดนี้ เราจักไม่เป็นไปในอำนาจ
แห่งจิต จำเดิมแต่กาลที่เราได้โอวาทของพระศาสดาแล้ว. หากมีคำถาม
สอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร ? เฉลยว่า เพราะกามทั้งหลายเป็นทุกข์ มี
ภัยมาก ชื่อว่ากามเหล่านี้เป็นทุกข์ทั้งในอดีต มีผลดุจหนามแม้ในอนาคต

ชื่อว่ามีภัยใหญ่หลวง. เพราะติดตามด้วยภัยใหญ่ ต่างด้วยมีการติเตียนตน
เป็นต้น เราจักมีใจมุ่งสู่พระนิพพานเท่านั้นเที่ยวไป เพราะฉะนั้น เราจึง
มีจิตมุ่งเฉพาะพระนิพพานเท่านั้นอยู่.
เมื่อจะแสดงความที่เรามีใจมุ่งสู่พระนิพพานนั้นเท่านั้น จึงกล่าวคำ
มีอาทิว่า เราไม่ได้ออกบวชเพราะหมดบุญ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาหํ อลกฺขยา มีวาจาประกอบความว่า
เราไม่ได้ออกจากเรือนเพราะหมดบุญ คือเพราะหมดสิริ.
บทว่า อหิริกฺกตาย ความว่า เพราะไม่มีความละอาย เหมือน
กระทำการเยาะเย้ยตามที่มีโทษ.
บทว่า จิตฺตเหตุ ความว่า บางคราวเป็นนิครนถ์ บางคราวเป็น
ปริพาชกเป็นต้น เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งจิต เหมือนบุรุษมีจิต
ไม่ตั้งมั่นฉะนั้น.
บทว่า ทูรกนฺตนา ความว่า เพราะได้รับเมตตาจากพระราชาเป็น
ต้นแล้ว มีจิตคิดประทุษร้ายในพระราชาเป็นต้นนั้น.
บทว่า อาชีวเหตุ ความว่า เพราะเหตุแห่งอาชีพ เราเป็นผู้มี
อาชีวะเป็นปกติ ไม่ได้ออกบวชเพราะภัยจากอาชีวะ.
ด้วยบทว่า กโต จ เต จิตฺต ปฏิสฺสโว มยา นี้ ท่านแสดงว่า
ดูก่อนจิต ท่านได้กระทำการรับรองไว้กับเราแล้วมิใช่หรือว่า เราจะอยู่
ในอำนาจของท่านจำเดิมแต่กาลบวชแล้ว.
บทว่า อปฺปิจฺฉตา สปฺปุริเสหิ วณฺณิตา ความว่า ชื่อว่า ความ
เป็นผู้มักน้อยในปัจจัยทั้งหลายโดยประการทั้งปวง บัณฑิตทั้งหลายมี
พระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญว่า เป็นความดี อนึ่งการละความลบหลู่

คือการละความลบหลู่คุณของตนเหล่าอื่น การเข้าไปสงบคือการเข้าไปสงบ
ทุกข์ทั้งปวง ได้แก่การให้บรรลุพระนิพพานอันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ
แล้ว. อธิบายว่า ดูก่อนจิต ท่านได้แนะนำเราไว้ในครั้งนั้นดังกล่าวมา
แล้วคือ ดูก่อนจิต ท่านได้แนะนำเราไว้ในครั้งนั้นว่า สหาย ท่านพึง
ปฏิบัติในคุณเหล่านั้น บัดนี้ท่านจะเดินตามข้อที่เคยประพฤติมา คือบัดนี้
ท่านจะละเราปฏิบัติความมักมากเป็นต้น ที่ตนเคยประพฤติมา, นี้อย่างไร
กัน ?
ท่านหมายเอาเรื่องใดจึงกล่าวว่า ท่านจะดำเนินตามข้อที่เคย
ประพฤติมา. เพื่อแสดงเรื่องนั้นจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ตณฺหา อวิชฺชา จ
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตณฺหา ได้แก่ ตัณหาในปัจจัยทั้งหลาย.
บทว่า อวิชฺชา ได้แก่ อวิชชา มีการปกปิดโทษเป็นต้นในเรื่องนั้นนั่นแล.
บทว่า ปิยาปิยํ ความว่า ความที่สัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก
กล่าวคือความรักในบุตรและภรรยาเป็นต้น และความที่สัตว์และสังขาร
อันไม่เป็นที่รัก กล่าวคือความไม่ยินดีในเสนาสนะอันสงัด คือในกุศล-
ธรรมอันยิ่ง มีความยินดีและยินร้ายในสองอย่างนั้น.
บทว่า สุภานิ รูปานิ ได้แก่ รูปงามทั้งภายในและภายนอก.
บทว่า สุขา เวทนา ได้แก่ สุขเวทนาอาศัยอิฏฐารมณ์เกิดขึ้น.
บทว่า มนาปิยา กามคุณา ได้แก่ ส่วนแห่งกามคุณอันน่า
รื่นรมย์ใจ ที่เหลือดังกล่าวแล้ว.
บทว่า วนฺตา ความว่า ชื่อว่า อันเราคายแล้ว เพราะละด้วยการ
ข่มไว้ ทิ้ง และสละฉันทราคะ อันอาศัยอารมณ์จากที่ไม่มีรูป.

ด้วยบทว่า วนฺเต อหํ อาวมิตุํ น อุสฺสเห ท่านกล่าวว่า เราไม่
สามารถจะจับต้องกามคุณเหล่านั้นที่เราละเสียแล้วอีกด้วยอาการอย่างนี้ คือ
เป็นธรรมชาติอันสละเสียแล้วนั่นแล.
บทว่า สพฺพตฺถ ได้แก่ ในภพทั้งปวง ในกำเนิดทั้งปวง ในคติ
ทั้งปวง และในวิญญาณฐิติทั้งปวง.
บทว่า วโจ กตํ มยา ความว่า ดูก่อนจิตผู้เจริญ เราได้ทำตาม
คำของท่านแล้ว.
เมื่อจะทำอธิบาย บทว่า พหูสุ ชาติสุ น เมสิ โกปิโต ความว่า
ก็เมื่อเราไม่ได้โกรธเคืองท่านในชาติเป็นอันมาก. เราเองมิได้ดูหมิ่นท่าน.
อนึ่ง ความเกิดในภายในแม้เกิดในตน เมื่อท่านกระทำเราให้
ท่องเที่ยวไปในทุกข์สิ้นกาลนาน เพราะท่านเป็นผู้ไม่กตัญญู เพราะฉะนั้น
เราจึงเที่ยวเร่ร่อนไปในสังสารทุกข์ตลอดกาลนาน อันหาเบื้องต้นและที่สุด
รู้ไม่ได้ที่ตนบังเกิด.
บัดนี้ เมื่อจะแสดงความที่กล่าวแล้วโดยสังเขปว่า ท่านกระทำให้เรา
ท่องเที่ยวไปในทุกข์ ตลอดกาลนาน และโดยพิสดารด้วยประเภทแห่งการ
อุบัติ และโดยประเภทแห่งคติ จึงกล่าวว่า ตวญฺเญว ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชทสิ ตัดเป็น ราชา อสิ ท อักษร
ทำการเชื่อมบท. มีวาจาประกอบความว่า เราเป็นแพศย์และศูทรนั้นก็
เนื่องในกาลบางคราว. เพราะเหตุแห่งท่านนั่นเอง.
บทว่า เทวตฺตนํ วาปิ มีวาจาประกอบความว่า ดูก่อนจิต
ท่านเท่านั้นทำให้เราเป็นเทวดา.
บทว่า วาหสา แปลว่า เพราะความเป็นเหตุ.

บทว่า ตเวว เหตุ ความว่า เพราะเหตุแห่งท่านนั้นเอง.
บทว่า ตฺวํมูลกํ แปลว่า มีท่านเป็นนิมิต.
บทว่า นนุ ทุพฺภิสฺสสิ มํ ปุนปฺปุนํ ความว่า ท่านประทุษร้าย
บ่อย ๆ มิใช่หรือ ? ดูก่อนจิต เมื่อก่อนคือในอนันตชาติ ท่านเป็น
มิตรเทียม คือเป็นข้าศึก ประทุษร้ายเราบ่อย ๆ ฉันใด บัดนี้ เห็นจัก
ประทุษร้ายฉันนั้น อธิบายว่า เราจักไม่ให้ท่านเที่ยวไปเหมือนในกาลก่อน.
บทว่า มุหุํ มุหุํ จารณิกํ ทสฺสยํ ความว่า ใจดังจะให้เรา
เที่ยวไปเนือง ๆ ลวงบุรุษให้เที่ยวไป ให้ภพนั้น ๆ บ่อย ๆ เหมือน
ควบคุมการเที่ยวไปให้สำเร็จ.
บทว่า อุมฺมตฺตเกเนว มยา ปโลภสิ ความว่า ท่านเล่นกับเรา
เหมือนกับคนบ้า แสดงอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความประเล้าประโลมนั้น
แล้วจึงประเล้าประโลม.
บทว่า กิญฺจาปิ เต จิตฺต วิราธิตํ มยา อธิบายว่า ดูก่อนจิต
ผู้เจริญ อะไรที่เราทำความผิดพลาดให้แก่ท่าน ท่านจงบอกเรื่องนั้น.
บทว่า อิทํ ปุเร จิตฺตํ ความว่า ธรรมดาว่าจิตนี้ เมื่อก่อนแต่นี้
ย่อมปรารถนาด้วยอาการอย่างใด มีความยินดีเป็นต้นในอารมณ์มีรูป
เป็นต้น และความใคร่ของจิตนั้น ย่อมเกิดในอารมณ์ใด และความใคร่
เมื่อเที่ยวไปโดยประการที่ความสุขย่อมมีแก่จิตผู้เที่ยวไปตามอำนาจตามความ
ปรารถนา ก็เที่ยวจาริกไปตามความสุขตลอดกาลนาน วันนี้เราจักข่มจิต
นั้น ด้วยโยนิโสมนสิการ เหมือนควาญช้างผู้ฉลาด กล่าวคือนาย
หัตถาจารย์ใช้ขอข่มช้างตัวซับมันผู้แตกปลอกฉะนั้น คือเราจะไม่ให้มัน
ก้าวไปได้.

บทว่า สตฺถา จ เม โลกมิมํ อธิฏฺฐหิ ความว่า พระศาสดา
สัมพุทธเจ้าของเรา ทรงอธิษฐานด้วยพระญาณถึงขันธโลกโดยไม่มีส่วน
เหลือฉะนี้, อธิษฐานกระไร ? อธิษฐานโดยความไม่เที่ยง เพราะอรรถ
ว่ามีแล้วกลับไม่มี โดยความไม่ยั่งยืน เพราะไม่มีความยั่งยืน คือถาวรแม้
อย่างใด โดยความไม่มีสาระ เพราะไม่มีสุขเป็นสาระเป็นต้น.
บทว่า ปกฺขนฺท มํ จิตฺต ชินสฺส สาสเน ความว่า ดูก่อนจิต
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงยังเราให้แล่นไป คือให้เข้าไปในศาสนาของ
พระชินะผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อปฏิบัติตามความเป็นจริง. บาลีว่า ปกฺขนฺทิมํ
ดังนี้ก็มี ท่านจงแล่นไปสู่โลกในศาสนาของพระชินะเจ้าด้วยญาณ จงให้
ข้ามตามความเป็นจริงและแม้แล่นไป คือเมื่อให้แล่นไปให้เป็นไปด้วย
มรรคอันสัมปยุตด้วยวิปัสสนาญาณ จงให้เราข้ามจากโอฆะใหญ่คือสงสาร
ที่ข้ามได้แสนยาก.
บทว่า น เต อิทํ จิตฺต ยถา ปุราณกํ ความว่า ดูก่อนจิตผู้เจริญ
เรือนคืออัตภาพนี้ ย่อมไม่มีแก่ท่าน เหมือนมีในกาลก่อน เพราะเหตุไร ?
เพราะเราจักไม่เป็นไปในอำนาจของท่านต่อไป อธิบายว่า บัดนี้เราไม่ควร
เพื่อจะเป็นไปในอำนาจของท่าน เพราะเหตุที่เราออกบวชในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ และจำเดิมแต่กาลที่เราบวช
แล้ว ชื่อว่า สมณะทั้งหลายผู้เช่นกับเราย่อมไม่มี เป็นผู้ทรงไว้ซึ่ง
ความพินาศ เป็นสมณะโดยส่วนเดียวเท่านั้น.
บทว่า นคา ได้แก่ ภูเขาทั้งปวง มีภูเขาสิเนรุและภูเขาหิมวันต์
เป็นต้น.
บทว่า สมุทฺทา ได้แก่ สมุทรทั้งปวง มีสมุทรที่ตั้งในทิศตะวันออก
เป็นต้น และสมุทรเย็นเป็นต้น.

บทว่า สริตา ได้แก่ แม่น้ำทั้งปวงมีแม่น้ำคงคาเป็นต้น.
บทว่า วสุนฺธรา แปลว่า แผ่นดิน.
บทว่า ทิสา จตสฺโส ได้แก่ ทิศทั้ง 4 อันต่างด้วยทิศตะวันออก
เป็นต้น.
บทว่า วิทิสา ได้แก่ ทิศน้อยทั้ง 4 มีทิศที่อยู่ระหว่างทิศตะวันออก
และทิศทักษิณเป็นต้น
บทว่า อโธ ความว่า ภายใต้จนถึงกองลมที่รองรับน้ำ.
บทว่า ทิวา ได้แก่ เทวโลก. ก็ด้วย ทิวา ศัพท์ ในบทว่า ทิวา
นี้ ท่านกล่าวหมายเอาสัตว์และสังขารที่อยู่ในที่นั้น.
บทว่า สพฺเพ อนิจฺจา ติภวา อุปทฺทุตา อธิบายว่า ภพทั้ง 3
มีกามภพเป็นต้นทั้งหมดเป็นของไม่เที่ยง ถูกทุกข์มีชาติทุกข์เป็นต้น และ
กิเลสมีราคะเป็นต้น ทำให้วุ่นวายและเบียดเบียน, ชื่อว่า สถานที่อัน
ปลอดภัยอะไร ๆ ในที่นี้ย่อมไม่มี ดูก่อนจิต เพราะไม่มีความปลอดภัยนั้น
ท่านไปในที่ไหนจักรื่นรมย์เป็นสุข เพราะฉะนั้น ท่านจงแสวงหาที่สลัด
ออกจากชาติทุกข์เป็นต้นนั้นในที่นี้.
บทว่า ธิติปฺปรํ ความว่า ดูก่อนจิต เบื้องหน้าแต่จิตของเราตั้งมั่น
แล้ว ท่านจักทำอะไรแก่เราผู้ตั้งอยู่ในความมั่นคง ท่านไม่สามารถจักทำ
ให้เราหวั่นไหวแม้น้อยหนึ่ง จากอารมณ์อันเป็นทุกข์นั้นได้.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดูก่อนจิต เราไม่ควรเพื่อจะเป็นไปใน
อำนาจของท่าน. บัดนี้เมื่อจะแสดงความนั้นให้ปรากฏชัด ท่านจึงกล่าวว่า
บุคคลไม่ควรถูกต้องไถ้สองปาก คือร่างกายอันเต็มไปด้วยของไม่สะอาด
มีช่อง 9 แห่งเป็นที่ไหลออก น่าติเตียน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภสฺตํ ได้แก่ ถุงหนัง. บทว่า อุภโตมุขํ
ได้แก่ ปากสองข้างแห่งไถ้.
บทว่า น ชาตุ ฉุเป ความว่า บุคคลไม่พึงถูกต้องแม้ด้วยเท้า
โดยส่วนเดียว. อนึ่ง บทว่า ธิรตฺถุ ปุรํ นวโสตสนฺทนึ ความว่า ซึ่งร่าง
กายอันเต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ เป็นที่ไหลออกแห่งของอัน
ไม่สะอาด จากช่องคือจากปากแผลทั้ง 9 น่าติเตียนเวจกุฏินั้น คือน่า
ครหาเวจกุฏินั้น.
ครั้นโอวาทจิตด้วยอำนาจข่มด้วยคาถา 28 คาถาอย่างนี้แล้ว บัดนี้
เมื่อจะให้ร่าเริง ด้วยการบอกสถานที่อันวิเวกเป็นต้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
วราหเอเณยฺยวิหาฬฺหเสวิเต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วราหเอเณยฺยวิคาฬฺหเสวิเต อันหมู่
และเนื้อทรายหยั่งลงเสพแล้ว.
บทว่า ปพฺภารกุฏฺเฏ ได้แก่ ที่เงื้อมเขาและบนยอดเขา.
บทว่า ปกเตว สุนฺทเร ความว่า อันสวยงามตามธรรมชาติ พึง
ได้รื่นรมย์ใจไม่อิ่ม, อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า ปกติ วสุนฺธเร ในแผ่นดิน
ตามธรรมชาติ, อธิบายว่า ในภูมิประเทศตามปกติ.
บทว่า นวมฺพุนา ปาวุสสิตฺตกานเน ความว่า ในป่าที่ฝนตก
ใหม่ ๆ.
บทว่า ตหึ คุหาเคหคโต รมิสฺสสิ ความว่า ท่านเข้าไปสู่เรือน
คือถ้ำ ณ เชิงบรรพตนั้น จักรื่นรมย์ใจอย่างยิ่งด้วยความยินดีในภาวนา.
บทว่า เต ตํ รเมสฺสนฺติ ความว่า สัตว์เหล่านั้นมีนกยูงเป็นต้น
ให้เกิดความสำคัญในป่า จักรื่นรมย์ป่านั้น.

บทว่า วุฏฺฐมฺหิ ความว่า เมื่อฝนตกใหม่ ๆ.
บทว่า จตุรงฺคุเล ติเณ ความว่า เมื่อฝนตกและหญ้างอกงาม ยาว
ประมาณ 4 นิ้ว เช่นกับผ้ากัมพลมีสีแดงจัดในที่นั้น ๆ.
บทว่า สํปุปฺผิเต เมฆนิภมฺหิ กานเน ความว่า หมู่ไม้คล้ายกับ
เมฆฝนบานสะพรั่งทีเดียว.
บทว่า นคนฺตเร ได้แก่ ในระหว่างภูเขา.
บทว่า วิฏปิสโม สยิสฺสํ ความว่า เป็นผู้เช่นกับต้นไม้ไม่มีอะไร
ปกคลุมนอนอยู่.
บทว่า ตํ เม มุทู เทหิติ ตูลสนฺนิภํ ความว่า เครื่องลาดหญ้า
นั้นอ่อนนุ่ม มีสัมผัสสบาย งดงามเหมือนปุยนุ่น จักเป็นที่นอนของเรา.
บทว่า ตถา ตุ กสฺสามิ ยถาปิ อิสฺสโร ความว่า บุรุษผู้เป็นใหญ่
บางคน ให้ทาสเป็นต้นผู้ทำตามคำของตน ให้เป็นไปในอำนาจฉันใด
ดูก่อนจิต แม้เราก็ฉันนั้น จักกระทำจิตนั้นให้เหมือนอย่างนั้น จะให้อยู่
ในอำนาจของเราเท่านั้น. อย่างไร ? คือสิ่งใดที่เราได้ แม้สิ่งนั้นจงควร
แก่เรา อธิบายว่า ในปัจจัย 4 เราได้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถึงสิ่งนั้นก็จงควร
คือจงสำเร็จแก่เรา. ด้วยคำนั้นท่านจึงแสดงว่า
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ย่อมเป็นไปในอำนาจแห่งจิต เพราะเหตุ
ให้เกิดตัณหา แต่เราเว้นการเกิดตัณหาให้ห่างไกล ทำจิตให้เหมือนทาส
ให้เป็นไปในอำนาจแห่งตน.
บทว่า น ตาหํ กสฺสามิ ยถา อตนฺทิโต พิฬารภสฺตํว ยถา สุมทฺทิตํ
ความว่า ดูก่อนจิต ความเกียจคร้านย่อมจับต้องจิตอีก เพราะเหตุเว้นการ
เกิดตัณหา ใคร ๆ แม้อื่นผู้ไม่เกียจคร้าน ย่อมทำจิตของตนให้ควรแก่การ

งาน คือให้เหมาะแก่การงานด้วยภาวนา โดยการประกอบสัมมัปธาน
ฉันใด ดูก่อนจิต แม้เราก็ฉันนั้น กระทำจิตนั้นให้ควรแก่การงาน คือ
ให้เหมาะแก่การงาน ได้แก่ให้เป็นไปในอำนาจแห่งตน. เปรียบเหมือน
อะไร ? เหมือนบุคคลเลื่อนถุงใส่แนวฉะนั้น. ศัพท์ว่า เป็นเพียงนิบาต.
ถุงใส่แมวที่บุคคลเลื่อนดีแล้ว ย่อมควรแก่การงาน คือแก่การงานและ
เป็นอันคุ้มครองได้โดยสะดวกฉันใด เราจักกระทำจิตให้เป็นฉันนั้น.
บทว่า วิริเยน ตํ มยฺห วสฺสานยิสฺสํ ความว่า ดูก่อนจิตผู้เจริญ
เราจักยังกำลังแห่งภาวนาให้เกิดด้วยความเพียรของตน แล้วจักนำเธอมาสู่
อำนาจของเราด้วยความเพียรนั้น.
บทว่า คชว มตฺตํ กุสลงฺกุสคฺคโห ความว่า เหมือนนายหัต-
ถาจารย์ผู้ฉลาดเฉียบแหลม นำช้างตัวซับมันมาสู่อำนาจของตน ด้วยกำลัง
แห่งการศึกษาของตน อธิบายว่าเหมือนกันนั่นเเหละ.
ศัพท์ว่า หิ ในบทว่า ตยา สุทนฺเตน อวฏฺฐิเตน หิ เป็นเพียง
นิบาต ความว่า ดูก่อนจิต ท่านผู้ฝึกด้วยดีด้วยสมถะและวิปัสสนาภาวนา
ชื่อว่าตั้งมั่นแล้ว เพราะดำเนินตามวิปัสสนาวิถี โดยชอบแท้เพราะเหตุ
นั้นแล.
บทว่า หเยน โยคฺคาจริโยว อุชฺชุนา ความว่า นายอัสสาจารย์
ผู้ประกอบด้วยวิชาฝึกม้าที่ให้ตรงไม่โกง เพราะตนฝึกดีแล้วสามารถเพื่อ
ดำเนินไปจากที่ไม่ปลอดภัยสู่ที่อันปลอดภัยฉันใด เราก็สามารถเพื่อดำเนิน
ไปสู่ที่ปลอดภัยฉันนั้น อธิบายว่า ชื่อว่าที่ปลอดภัย เพราะไม่มีกิเลสอัน
กระทำความไม่ปลอดภัย.
บทว่า จิตฺตานุรกฺขีหิ ความว่า เราอาจ คือสามารถเพื่อดำเนิน
ตาม คือเพื่อบรรลุอริยมรรค อันบัณฑิตทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

เสพแล้วตลอดกาลทั้งสิ้น ด้วยศีลเป็นเครื่องตามรักษาจิตของตน.
บทว่า อารมฺมเณ ตํ พลสา นิพนฺธิสํ นาคํว ถมฺภมฺหิ ทฬฺหาย
รชฺชุยา
ความว่า ดูก่อนจิต เราจะผูกจิตไว้ในอารมณ์กรรมฐาน
ด้วยกำลังภาวนา เหมือนนายหัตถาจารย์มัดช้างใหญ่ไว้ที่เสาตะลุง ด้วย
เชือกอันมั่นคงฉะนั้น.
บทว่า ตํ เม สุคุตฺตํ สติยา สุภาวิตํ ความว่า ดูก่อนจิต ท่าน
นั้นเป็นผู้อันสติของเราคุ้มครองดีแล้ว และอบรมดีแล้ว.
บทว่า อนิสฺสิตํ สพฺพภเวสุ เหหิสิ ความว่า ท่านจักเป็นผู้อัน
ความประพฤติที่นอนเนื่องในสันดานมีตัณหาเป็นต้น ในภพทั้งหมดมี
กามภพเป็นต้นไม่อาศัยแล้ว ด้วยกำลังอริยมรรคภาวนา.
บทว่า ปญฺญาย เฉตฺวา วิปถามุสารินํ ความว่า ท่านจงตัด
ทางดำเนินที่ผิด คือที่เกิดแห่งอายตนะ คือจงตัดทางเป็นที่ไหลออกแห่ง
กิเลส คือทางดิ้นรนแห่งกิเลส อันเป็นเหตุให้เดินทางผิดตามความเป็นจริง
แล้วทำการป้องกันด้วยอำนาจตัดกระแสตัณหา ด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา
อันเป็นที่เข้าไปอาศัยอินทรียสังวร.
บทว่า โยเคน นิคฺคยฺห ความว่า ข่มใจแล้วด้วยการทำลายด้วย
ความสามารถคือด้วยความเพียรกล่าวคือวิปัสสนาภาวนา. บทว่า ปเถ
นิเวสิยา
ความว่า ส่งใจคือให้ตั้งอยู่ในวิปัสสนาวิถี อนึ่ง ในกาลใด
วิปัสสนาอันตนพยายามให้เกิดขึ้น ย่อมสืบต่อด้วยมรรค เมื่อนั้นท่านจัก
เห็นความเสื่อมและความเจริญ แห่งความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ โดยความ
ไม่หลงโดยประการทั้งปวง ด้วยการแสดงไขว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา จักเป็น

ทายาทคือเป็นโอรสของผู้มีวาทะอันเลิศในโลกพร้อมด้วยเทวโลก คือพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้า.
บทว่า จตุพฺพิปลฺลาสวสํ อธิฏฺฐิตํ ความว่า ได้นำเราให้ตั้งมั่น
คือให้เป็นไปตามอำนาจของความเข้าใจผิด 4 ประการนี้ คือในสิ่งที่ไม่
เที่ยงว่าเที่ยง ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสิ่งที่มิ
ใช่ตนว่าเป็นตน ดังนี้.
บทว่า คามณฺฑลํว ปริเนสิ จิตตฺ มํ ความว่า ดูก่อนจิตผู้เจริญ
ท่านฉุดคร่าเราไปเหมือมเด็กชาวบ้าน คือฉุดคร่าให้หมุนไปจากที่โน้นและ
ที่นี้.
บทว่า นนุ สํโยชนพนฺธนจฺฉิทํ ความว่า ท่านคบหาพระมหา-
มุนี คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบด้วยกรุณา ผู้ตัดเครื่องผูก 10
อย่าง กล่าวคือสังโยชน์แน่ ย่อมสรรเสริญพระศาสดาด้วยการประกอบ
ด้วยความสรรเสริญว่า ท่านเว้นผู้มีอานุภาพมากเห็นปานนี้ แต่แสวงหา
ท่านผู้มีตบะเห็นตามความชอบใจ.
บทว่า มิโค ยถา ความว่า เหมือนมฤคชาติพอใจมีอำนาจเอง
ย่อมยินดีด้วยความใคร่ ในที่ไม่อากูล อันวิจิตรตระการด้วยดี ด้วยต้นไม้
กอไม้และเถาวัลย์เป็นต้น.
บทว่า รมฺมํ คิรึ ปาวุสอพฺภมาลินึ ความว่า เราได้ภูเขาอันน่า
รื่นรมย์ใจ เพราะสงัดจากหมู่ชนและเป็นที่รื่นรมย์ใจ ชื่อว่ามีพวงมาลัยดุจ
กลุ่มเมฆ เพราะประกอบด้วยดอกไม้ทั้งบนบกและในน้ำ โคตรอบในฤดู
ฝนอย่างนี้ จักยินดีภูเขานั้น ดูก่อนจิต ท่านจักเสื่อมโดยส่วนเดียว
อธิบายว่า จักตั้งอยู่ด้วยความวอดวายในสงสาร.

ด้วยบทว่า เย ตุยฺห ฉนฺเทน วเสน วตฺติโน ท่านกล่าวหมาย
เอาปุถุชนทั้งปวง โดยความเป็นผู้เสมอกับจิต.
คำนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ ดูก่อนจิตผู้เจริญ นระและนารีทั้งหลาย
ตั้งอยู่ด้วยความพอใจ คือด้วยอำนาจความชอบใจของท่าน ย่อมเสวย
จักประสบความสุขอันอาศัยเรือนใด คนเหล่านั้น เป็นคนโง่ อันธพาล
เป็นไปในอำนาจแห่งมาร คือมีปกติเป็นไปในอำนาจแห่งกิเลสมารเป็นต้น
เพลิดเพลินในภพเพราะเพลิดเพลินในกามภพเท่านั้น สาวกของท่าน
กระทำตามคำพร่ำสอน ส่วนพวกเราเป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เราไม่เป็นไปในอำนาจของท่าน.
เมื่อก่อนพระเถระจำแนกโยนิโสมนสิการ อันเป็นไปด้วยอำนาจการ
ข่มจิตโดยประการต่าง ๆ แสดงธรรมด้วยอำนาจให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ตั้งอยู่ในที่ใกล้. ก็ในที่นี้คำใดที่ท่านไม่ได้จำแนกไว้โดยอรรถใน
ระหว่าง ๆ คำนั้นมีอรรถง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล.
จบอรรถกถาตาลปุฏเถรคาถาที่ 1
จบปรมัตถทีปนี
อรรถกถาเถรคาถา ปัญญาสนิบาต

เถรคาถา สัฏฐิกนิบาต


1. มหาโมคคัลลานเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระมหาโมคคัลลานเถระ


[400] พระโมคคัลลานเถระ ได้ภาษิตคาถา 4 คาถาเบื้องต้น
ความว่า

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร ยินดีเฉพาะอาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การ
แสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วยดีในภายใน พึงทำลายเสนา
แห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุผู้ถือการอยู่ในป่าเป็น
วัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดีเฉพาะอาหาร
ที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การเสาะแสวงหา ฟังกำจัด
เสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ เหมือนช้างกุญชรทำลาย
เรือนไม้อ้อฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดีเฉพาะอาหารในบาตร
อันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วยดี พึงทำลาย
เสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุทั้งหลายผู้ถือการ
อยู่โคนไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดี
เฉพาะอาหารในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา พึงกำจัด
เสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ เหมือนช้างกุญชรทำลาย
เรือนไม้อ้อฉะนั้น.

อีก 4 คาถาต่อไป ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตไว้ ด้วย
อำนาจสอนหญิงแพศยาซึ่งมาเล้าโลมท่านว่า